Header Ads

สภาวะตลาดแบบ Risk ON และ Risk OFF ส่งผลต่อตลาดทองคำและค่าเงินยังไง ?

หากเราเรียนรู้ เกี่ยวสภาวะของตลาดแบบ Risk ON และ Risk OFF บ่อยๆ จะทำให้เราสามารถคาดการณ์คู่เงิน Forex และทองคำได้เป็นสัปดาห์เลยทีเดียว 😍

ในโลกของ Financial การเงิน และการลงทุน ที่ประกอบด้วย สินทรัพย์ ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

 ตลาดหุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงสกุลเงินดิจิตอล แน่นอนว่า การลงทุน ย่อมมีความเสี่ยง

แต่นักลงทุนจะมีแผนการเสี่ยงแบบไหน เพื่อให้ได้ผลตอบแทน ให้มากที่สุด ในสภาวะตลาดที่เป็นแบบ Risk ON และมีวิธีการเลี่ยงความเสี่ยงยังไง เมื่อสภาวะตลาดเป็น Risk OFF

 
 
หากเรารู้สภาวะตลาดว่าเป็น Risk ON หรือ Risk OFF จะทำให้เราคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น

https://youtu.be/j90QG9gjTwU

Risk ON คือช่วงที่ ตลาดหุ้น มีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง สนับสนุนให้นักลงทุนไม่กลัวการลงทุน
กล้าที่จะเสี่ยง กล้าลงทุนใน Stock Market ต่างๆ โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนความกล้าที่จะลงทุนดังนี้ เศรษฐกิจที่ดีของประเทศนั้นๆ
หรือ บริษัทใหญ่ๆ ของตลาดหุ้นภายในประเทศมีผลประกอบการที่ดี หรือนโยบายของธนาคารกลาง กับนโยบายของรัฐบาล ที่เกิดประโยชน์กับนักลงทุน
ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่ดี และกล้าที่จะเสี่ยงในช่วงที่ตลาดมีความมั่นคงนั่นเอง


Risk OFF คือช่วงที่นักลงทุนมีความกังวล หรือความกลัว อาจมีผลมาจากนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง จากปัญหาเงินเฟ้อภายประเทศ
หรือนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น GDP ,การจ้างงาน และบางประเทศอาจมีเรื่องของสงครามเข้ามากดดัน หรือโรคระบาดรุนแรง
ซึ่งส่งผลต่อ Stock Market ของประเทศนั้นๆ เกิดความผันผวนสูง เลยทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจต่อตลาด เลยย้ายเงินจากตลาดหุ้น
ไปไว้ในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยแทน เช่น ย้ายไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงน้อย หรือย้ายเงินไปลงทุนในทองคำเป็นต้น


ช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ Risk ON และ Risk OFF
จะส่งผลให้ค่าเงินไหน แข็งค่า ค่าเงินไหน แข็งค่า เราสามารถเช็คจากภาพด้านล่างนี้ได้เลย





หากเราสังเกตในภาพ จะเห็นว่าช่วงที่นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจในตลาดหุ้น หรือเกิดภาวะ Risk OFF ( โดยเราจะเน้นตลาดหุ้นของอเมริกาเป็นหลัก )
พวกเค้าจะซื้อสกุลเงิน ที่มีความปลอดภัยเก็บไว้ เลยทำให้ค่าเงิน JPY,CHF,EUR  และ Gold ทองคำ จะแข็งค่าขึ้นมาทันที



สกุลเงินที่มีผลกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity ) หลัก มีดังนี้

ค่าเงิน AUD หรือ ออสเตรเลียดอลลาร์  เป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กและทองแดงรายใหญ่ไปยังประเทศจีน

ค่าเงิน NZD หรือ ดอลลาร์นิวซีแลนด์   เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตร เครื่องจักร และเหมืองแร่รายใหญ่

ค่าเงิน CAD หรือ ดอลลาร์แคนาดา   เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นหลัก

ซึ่งในช่วงที่ตลาดเป็น Risk ON ตลาดจะมี Demand หรือความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้สกุลเงิน
AUD / NZD / CAD แข็งค่าตามไปด้วยนั่นเอง

ต่างประเทศจะเรียกว่ากลุ่ม Comdolls เป็นชื่อเล่นสำหรับคำว่า "ดอลลาร์สินค้าโภคภัณฑ์" 
สกุลเงินที่ประกอบด้วย ดอลลาร์ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์
เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นอย่างมาก  
สินค้าถูกใช้เป็นวัสดุในการผลิตสินค้าหรือบริการ  
 
ประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากจีนเท่านั้น 
ในขณะที่ ประเทศแคนาดาเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสี่ของโลก  
ส่วนนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก  
ผู้นำเข้ามักจะต้องซื้อคอมดอลล์หากต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ นี่คือเหตุผลที่การเคลื่อนไหวของราคาของ comdolls มักจะสัมพันธ์กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์


แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่
อยู่ในสภาวะที่เป็น Risk ON และ Risk OFF


1.เบื้องต้นสามารถเช็คได้จาก VIXY: PROSHARES VIX SHORT-TERM FUTURE
   VIXY เป็นการติดตามภาพรวมของดัชนี S&P 500 VIX Short-Term Futures
   ซึ่งอนุมานจากราคาของตัวเลือกในตลาดหลักทรัพย์และเรียกขานว่า " ดัชนีความกลัว วิตกกังวล หรือความไม่มั่นใจของนักลงทุน "
   เป็นตัวแทนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทั่วโลกและความอ่อนไหวของตลาดต่อความไม่แน่นอน
   หากตลาดเป็น  RISK-ON = VIXY จะลง /  RISK-OFF = VIXY จะขึ้น
  
   ภาพประกอบ
   หาก VIXY บวกแบบในภาพ อาจบ่งบอกสภาวะที่เป็น Risk OFF
   หรือความไม่มั่นของนักลงทุน ที่มีต่อตลาดหุ้น S&P 500 ของอเมริกา
 

 

ลิงค์สำหรับเช็ค การขึ้น / ลง ของ VIXY ได้ที่ลิงค์นี้


2.เราสามารถเช็คปัจจัยอื่นๆ ที่แสดงถึงภาวะตลาดว่าเป็น Risk ON หรือ Risk OFF
   เพิ่มเต็มได้จากเว็บด้านล่างนี้ อีกทีได้เลยครับ


📌 อีก 1 ข้อสังเกตส่วนตัว ช่วงที่ตลาดเป็น Risk ON หรือช่วงที่นักลงทุนมั่นใจในการลงทุน
โดยเฉพาะตลาดหุ้นหลักของอเมริกา
✅ ไม่ว่าจะเป็น Nasdaq , Dow Jones , S&P 500. หากลองสังเกตกราฟราคาทั้ง 3 ตลาด
เมื่อไรก็ตามที่ทั้ง 3 ตลาดวิ่งเป็นเทรนขาขึ้นพร้อมกัน จะทำให้ค่าเงินที่อยู่ในกลุ่มของ Comdolls เป็นชื่อเล่นสำหรับคำว่า "ดอลลาร์สินค้าโภคภัณฑ์"
 
เช่นคู่เงิน AUDUSD กับ NZDUSD จะวิ่งขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน
และแน่นอนว่า เมื่อ AUD และ NZD แข็งค่ามากกว่าค่าเงิน USD จะทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น JPY อ่อนค่ามากในช่วงดังกล่าว 

หากเราสามารถหาปัจจัยที่เพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ 
เราก็จะสามารถคาดการณ์ ตลาด Nasdaq , Dow Jones , S&P 500 ได้ และเมื่อเราสามารถคาดการณ์ทั้ง 3 ตลาดนี้ ไม่ยากเลยที่เราจะทำกำไรในคู่เงิน AUD และ NZD 
 
ตัวอย่างในภาพด้านล่างนี้ เป็นภาพเปรียบเทียบ ราคาของตลาด Nasdaq , Dow Jones , S&P 500
กับคู่เงิน AUDUSD และ AUDJPY จะเห็นว่าราคามีการกลับตัวของเทรนในช่วงเวลาใกล้เคียงกันมากๆ

 
เปรียบเทียบตลาดหุ้นสหรัฐ และค่าเงิน AUD

 เพื่อนๆ สามารถคลิกที่ Link ด้านล่าง เพื่อเข้าเว็บ Yahoo Finanece ที่ผมตั้งค่าไว้ให้ได้เลยครับ
 



✳️ ภาพและเนื้อหาในโพสนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษา ที่เป็นไอเดียส่วนตัวเท่านั้น 😊
🤟 บางท่านอาจนำไปประยุกต์ ต่อยอดการใช้งานอีกทีได้เลยครับ
วิดีโอตัวอย่างการเทรดผ่านโปรแกรม Meta Trader MT4
🎯 droidmaxthai.boards.net/thread/4542/meta-trader-mt4















































ขับเคลื่อนโดย Blogger.